วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เปรียบเทียบราคาระหว่างระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera กับ Analog Camera (ตอนที่2จบ)

 

ช่วงนี้รู้สึกจะมีอะไรอยู่ในหัวสมองมากมายจน เริ่มเบลอๆ ลืมๆ แฮะๆๆ เอาละมานั่งเขียนบทความต่อเลยครับ เล่าถึงเรื่องราคาระหว่างกล้อง Analog กับ กล้อง IP ต่อเลยครับ จำได้แล้วตอนที่ 1 พูดถึง การติดตั้งกล้องที่ โรงงเรียน 30 กล้องมีแบบให้เรียบร้อย เอาละมาต่อกันเลย

image

รายละเอียดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระหว่างกล้อง Analog กับ กล้อง IP เอาละ ผมสรุปเลยละกัน เพื่อให้กระชับฉับไว

image

เอาละ หลังจาก รวมราคาทั้งหมดจะเห็นว่า กล้อง IP จะถูกกว่ากล้อง Analog ในระบบนี้

image

ขยายความหน่อยว่าถูกว่ายังไง จะเห็นว่าค่าแรงติดตั้งกล้อง Analog จะแพงกว่า IP นะครับ ค่าเครื่องบันทึกภาพ HDD ก็แพงกว่า IP ค่าสายสัญญาณก็แพงกว่า IP จากกราฟจะเห็นว่าที่ IP แพงกว่า Analog จะมีแค่ ตัวกล้องเท่านั้น

 

image

 

ขยายความเพิ่มเติม จากกราฟจะเห็นว่า ถ้าระบบมีจำนวนกล้องตำกว่า 17 ตัวลงมา กล้อง IP จะแพงความกล้อง Analog และตั้งแต่ 17 กล้อง – 30 กล้อง จะเท่ากัน แต่ถามว่าในอนาคต ละ เราก็ต้อง เลือก IP ส่วนถ้ามากกว่า 31 กล้องขึ้นไป แน่นอนเลยว่า IP ถูกกว่าครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก AXIS ครับ
และในครั้งต่อไปผมจะมาเล่าถึงว่าเราจะเลือกกล้องวงจรปิดอย่างไร ทั้ง Analog และ IP เนืองจากว่าตอนนี้มีเยอะเหลือเกินในตลาด

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เปรียบเทียบราคาระหว่างระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera กับ Analog Camera (ตอนที่1)

total Cost of Ownership (tCO)

Comparison of IP- and analog-based surveillance system

 

คำถามที่หลายท่านสงสัยคือ ราคาระหว่างกล้อง Analog ระบบเดิม กับราคา ระบบกล้อง IP Camera ต่างกันเท่าไหร่ ??? แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ???

เรามาคลายความสงสัยกันเลย

 

มาดูก่อนว่าระบบกล้อง Analog มีอะไรบ้าง หลักๆ จะมีกล้องและเครื่องบันทึกภาพ สายสัญญาณ

ส่วนระบบกล้อง IP จะมีอุปกรณ์หลักๆ คือ กล้อง IP , Switch Hub,Server และ Software

 

กรณีศึกษาเราคือ มีโจทย์ว่า มีโรงเรียนแห่งหนึ่งกำลังก่อสร้าง ต้องการระบบกล้องวงจรปิดตามรายละเอียดดังนี้

จำนวนกล้อง

1. 30 กล้อง fix dome cameras ติดตั้งภายใน

2. 5 กล้อง Outdoor fix dome cameras ติดตั้งภายนอก

3. 5 กล้อง Outdoor PTZ Cameras ติดตั้งภายนอก

4. กล้องทุกตัว ทนแดด ทนฝน

 

การบันทึก

1. บันทึก 12 ชม ต่อวัน

2. บันทึกที่ 4f/s ต่อเนื่อง

3. บันทึกที่ 15f/s เวลาที่มีการเคลื่อนไหว (Motion Detect)

4. ความละเอียดภาพที่บันทึก CIF

5. เก็บข้อมูลอย่างน้อย 12 วัน

 

มีแบบตำแหน่งกล้องดังนี้

 

image

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามต่อในตอนที่ 2 ว่าจะเป็นอย่างไร ???

POE คืออะไรใครรู้บ้าง

   POE หรือ Pwer Over Ethernet คือ เทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากสาย UTP ที่เหลืออยู่ ซึ่งสาย UTP นั้นมี 4 คู่สาย ส่วนมากใช้งานเพียง 2 คู่ จะเหลือ 2 คู่ POE นั้น เกิดเมื่อปี 2003 ชื่อมาตรฐาน คือ IEEE 802.3af โดยไฟที่ส่งไปนั้นเป็นไฟกระแสตรงจึงไม่มีการรบกวนสัญญาณแต่อย่างใด โดยทั่วไปอุปกรณ์ POE จะใช้แรงดันประมาณ 48 V กินไฟสูงสุดประมาณ 13 W เราจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ง่ายๆ ว่า Injector (ตัวส่ง), Picker (ตัวรับ) หรือ Power Sourcing Equipment (PSE; ตัวส่ง), หรือ Power Device (PD; ตัวรับ) ก็ได้

ทำไมควรเลือกใช้ POE

  • ประหยัดกว่าการเดินสายแบบปกติ เพราะอุปกรณ์น้อยกว่า
  • ลดขีดจำกัดการออกแบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก
  • ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง
  • ลดความเสี่ยงเรื่องอันตรายจากไฟฟ้าดูด
  • สามารถใช้งานในฟังก์ชั่น SNMP Network ได้

ประโยชน์และข้อดีที่ได้รับจาก POE

  • สามารถใช้อุปกรณ์ Network ต่างๆ เช่น Access Point, IP Camera โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟฟ้า
  • ลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องเดินสายไฟไปพร้อมกับสาย UTP
  • ทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์ต่าง
  • มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำและเป็นไฟกระแสตรง
  • สามารถนำมาติดตั้งเพิ่มเติมกับระบบเดิมได้

ที่มา :: เอกสาร Interlink Vol.10 No.121 October 2008 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Power_over_Ethernet

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ตอนจบ (5)

ความรู้เพิ่มเติม

การเลือกชนิดของกล้องโทรทัศน์วงจรปิดให้เหมาะกับการใช้งาน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ :

q ระบบกล้องที่ใช้ทั่วไปแบ่งออกเป็นชนิด CCIR ( PAL ) และ EIA ( NTSC ) กล้องระบบ CCIR เป็นระบบมาตรฐานยุโรป 625 เส้น 220 โวลต์ 50 เฮิรตช์ ส่วน EIA เป็นระบบมาตรฐานอเมริกัน 525 เส้น 110 โวลต์ 60 เฮิรตช์ กล้องที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยเป็นระบบ CCIR

q ขนาดของแผ่นรับภาพ ( Sensor format ) ขนาดของแผ่นรับภาพแต่ละขนาดจะมีผลต่อความละเอียดของภาพ

( Numbers of pixels ) และการเลือกใช้เลนส์ให้ได้มุมมองของภาพตามต้องการ

q ความสว่าง ( Illumination ) คุณสมบัติของอุปกรณ์รับภาพของกล้องนั้นไม่ใช่มีผลเฉพาะต่อความไวที่มีต่อแสงสว่างเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสีของวัตถุอีกด้วย คุณภาพของภาพที่ดีจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ฉากรับภาพ ในกรณีของกล้องสีต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสี ( Colour Temperature) ที่ได้จากแสงสว่างร่วมกันกับแหล่งกำเนิดแสงทั่ว ๆ ไป เพราะประกอบด้วยแสงสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน และแสงบริเวณรอบ ๆ กล้องจับภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้แสงไม่คงที่เสมอไป

การกำหนดค่าความสว่างของกล้อง ( หน่วยเป็นลักซ์ ) นั้นต้องคำนึงถึงความสว่างของพื้นที่กล้องจับภาพ, การสะท้อนของแสงที่ฉากรับภาพ, ระยะห่างของวัตถุฉากรับภาพถึงตัวกล้อง ซึ่งทำให้อัตราการสูญเสียของแสงที่หายไปรวมถึงการเลือกใช้ชนิดของเลนส์เป็นองค์ประกอบการพิจารณาด้วย

โดยทั่วไปกล้อง CCD สามารถแบ่งตามคุณสมบัติของความสว่างได้ 3 ระดับ คือ

o กล้องที่ใช้ในกิจการทั่วไป ต้องการความสว่างตั้งแต่ 5-2,000 Lux

o กล้องที่ใช้ในกิจการความปลอดภัยสูง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.1-5 Lux

o กล้องที่ใช้ในกิจการพิเศษโดยเฉพาะอย่าง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.0001-0.1 Lux

q ระบบซิงค์ ( Synchronization ) โดยทั่วไปกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจะมีวงจรกำเนิดซิงค์ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซิงค์ของกล้องแต่ละตัวจะไม่ตรงกัน หากเรานำกล้องหลาย ๆ ตัว มาใช้ร่วมกันโดยผ่านเครื่องลำดับภาพและแสดงภาพบนจอมอนิเตอร์ จะสังเกตเห็นได้ว่าในขณะที่เครื่องลำดับภาพสลับภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่งนั้น ภาพจะกระตุกในแนวตั้งบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการบันทึกเทปวิดีโอ เมื่อนำเทปวิดีโอนั้นมาเล่นสลับทำให้ภาพล้มเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะ การสลับภาพของเครื่องลำดับภาพ

q ความคมชัดของภาพ ( Resolution ) กล้องที่มีความคมชัดสูงจะให้ภาพที่คมชัด ซึ่งคุณสมบัตินี้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเลือกชนิดของกล้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงงานให้เหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 4

สำหรับสถานที่ที่จำเป็นต้องส่องกล้องย้อนแสง เช่น ร้านทองที่ต้องการส่องกล้องมองลูกค้าย้อนไปทางด้านหน้าร้าน ฟังก์ชัน A.E.S. อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานย้อนแสง เพราะภาพที่เห็นบนจอโทรทัศน์จะเห็นหน้าคนมืดๆ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพมีแสงเข้ามามาก ตัวกล้องจึงปรับลดแสงลงจนหน้าคนมืดไป

ตัวอย่างภาพที่ส่องกล้องย้อนแสงออกไปด้านนอกร้าน ซึ่งกล้องทั่วไปจะเห็นภาพมืด

(เพราะฟังก์ชัน A.E.S. ช่วยปรับแสงอัตโนมัติ)

clip_image001

วิธีการแก้ไขมี 2 ทางคือ พยายามกดมุมกล้องลงต่ำ หรือหันมุมกล้องไปในทิศทางที่หลบแสง หรือไม่สู้แสง แต่ถ้าจำเป็นต้องหันมุมกล้องไปในทิศทางที่ย้อนแสง ให้เลือกกล้องรุ่นที่สามารถย้อนแสงได้

กล้องที่สามารถย้อนแสงได้ จะมีปุ่มผลักด้านหลังกล้อง เพื่อตัดการทำงานของฟังก์ชัน AES ทิ้งไป โดยกลายเป็นการใช้งานฟังก์ชัน Back Light Compensation (BLC) แทน ซึ่งการใช้งานฟังก์ชัน BLC เมื่อท่านส่องกล้องย้อนแสงไปในที่ที่มีแสงมากๆ แทนที่ภาพจะถูกปรับให้มืดลง ภาพจะยังคงสว่างอยู่ (หรือบางรุ่นจะเพิ่มแสงให้กับภาพอีก) ทำให้ภาพหน้าคนตรงกลางภาพ สว่างขึ้นมา (ภาพ Background ด้านหลัง จะสว่างมาก ซึ่งปกติก็จะไม่แคร์ Background ด้านหลังอยู่แล้ว)

ตัวอย่างการทำงานของกล้องที่มีปุ่มผลักด้านหลัง ใช้งานฟังก์ชัน BLC

clip_image003 clip_image005

ภาพเริ่มต้น เมื่อใช้งานฟังก์ชัน A.E.S. ภาพหลัง หลังจาก ตัดการใช้งานฟังก์ชัน A.E.S.

แต่เปิดการใช้งานฟังก์ชัน BLC

9. BACK LIGHT COMPENSATION ( BLC ) และ AUTO GAIN CONTROL ( AGC )

การส่องกล้องย้อนแสง แล้วใช้ฟังก์ชัน B.L.C. ฟังก์ชันนี้จะช่วย boost แสงขึ้นมาที่ด้านหน้าตรงกลางภาพ ทำให้มองเห็นภาพบริเวณด้านหน้าได้ชัดเจน ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะสว่างมาก จนดูไม่รู้เรื่องเลย

การใช้ BLC mode เหมาะกับการใช้ในร้านขายทอง ที่ติดกล้องหันไปทางด้านนอกร้าน และเน้นภาพชัดเจนบริเวณด้านหน้าของภาพ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภายในร้าน

ฟังก์ชัน AGC จะช่วยในการเฉลี่ยแสงของภาพโดยรวมให้ดีขึ้น คือภาพทั้งภาพ จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นไม่ได้เน้นเฉพาะจุดที่ด้านหน้าภาพเหมือน BLC

clip_image006 clip_image007 clip_image008

A.E.S. BLC AGC

กล้องทั่วไป กล้องที่ย้อนแสงได้ มี BLC กล้องที่มี Auto Gain Control

10. Auto Iris

กล้องใด ระบุ SPEC ว่ามี Auto Iris หมายถึง กล้องนั้น Support ที่จะใช้งานคู่กับเลนส์แบบ Auto Iris ได้

เลนส์ Auto Iris มี 2 แบบ คือ แบบ Video Drive และ DC Drive ซึ่งเลนส์ Auto Iris ทั้ง 2 แบบ จะมีสายสัญญาณ 4 เส้น ที่จะต้องต่อเข้ากับตัวกล้อง ซึ่งเฉพาะกล้องที่มีหัวต่อ Auto Iris เท่านั้น จึงจะใช้งานคู่กับเลนส์ Auto Iris ได้

ตัวอย่างด้านหลังของกล้อง FN-311 ที่สามารถต่อเข้ากับเลนส์ Auto Iris ได้

clip_image010

กล้องบางรุ่น Support เลนส์ Auto Iris ทั้งแบบ Video Drive และ DC Drive ซึ่งกล้องประเภทนั้น จะมีปุ่มสวิทช์ให้ผลักเลือกระหว่าง Video Drive และ DC Drive

clip_image012

11. WATER PROOF

จะระบุใน spec สำหรับกล้องพิเศษที่กันน้ำได้, สามารถนำไปติดตั้งภายนอกอาคาร โดนฝนได้

clip_image015

กล้องบางรุ่น ออกแบบมาสำหรับจุ่มน้ำได้ นั่นคือสามารถติดกล้องใต้น้ำในระยะ 30 เมตรได้ ซึ่งเรียกว่ากล้อง Special ประเภท Submersible Camera

12. MICROPHONE (Mic.)

กล้องที่ระบุ Mic. จะเป็นกล้องที่มี microphone ในตัว และจะมีช่องสัญญาณ AUDIO OUT ด้วย

clip_image018

13. INFRARED

แสงสีขาว เป็นแสงที่คนเราสามารถมองเห็นได้ ประกอบไปด้วย สี 7 สี โดยแสงที่มีความถี่สูงหรือต่ำกว่านี้ จัดเป็นแสงที่คนเรามองไม่เห็น

clip_image019

รูป 1.6 Spectrum ของแสง

เลนส์ปกติจะมีสารเคลือบ กั้นแสง infrared เพื่อไม่ให้แสง infrared ผ่านได้ และภายในตัวกล้องก็จะมี filter ทำหน้าที่กรองแสง infrared นี้ออกไปอีกด้วย เพราะกล้องสีจะให้ภาพสีสวยสด เมื่อไม่มีแสง infrared มารบกวน

ตามธรรมดาแล้ว แสงที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นแสงสีขาว ( ประกอบด้วย 7 สี ) และสามารถมองเห็นได้ โดยแสงจะไปกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมายังเลนส์ แล้วตกยังฉากรับภาพ, แต่ในสถานที่ที่มีปริมาณแสงน้อย ( ที่มืด ) กล้อง infrared จะทำหน้าที่ปล่อยแสง infrared ไปกระทบวัตถุ และสะท้อนกลับมายังเลนส์ ดังนั้น เลนส์ที่ใช้ จึงต้องเป็นเลนส์ชนิดที่ยอมให้แสง infrared ผ่านได้ ( UNCOATED ) และตัวกล้องเอง จะต้องไม่มี filter ด้วย (กล้องชนิดนั้นจะเรียกว่า IR Camera )

clip_image021

 

กล้อง FN-663L เป็นตัวอย่างของกล้องสี ที่ยอมให้แสง Infrared ทำงานได้ นั่นคือ ยอมรับแสง Infrared ได้

clip_image023

เสริมเพิ่มเติม

ชนิดของเลนส์

UNCOATED - ไม่กั้นแสง infrared

COATED - กั้นแสง infrared ได้บ้าง

MULTI-COATED - กั้นแสง infrared ได้ดี

* ภาพที่ได้จากกล้อง infrared จะเป็น ภาพขาว-ดำ เท่านั้น *

clip_image025 clip_image026

ภาพเมื่อเปิดไฟห้อง ภาพเมื่อปิดไฟห้อง

มีแสงสว่างเพียงพอ อินฟราเรดทำงาน ได้ภาพ ขาว-ดำ

ภาพจริงอาจจะสว่างเฉพาะช่วงกลางๆภาพ

ส่วนขอบๆภาพอาจจะมืดกว่านี้

 

ติดตามต่อในบทความสุดท้ายตอนจบ ตอนที่ 5 ครับ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 3

เทคนิคการเลือกใช้ขนาดของเลนส์

· 2 mm เป็นเลนส์มุมกว้างที่สุด เหมาะกับการใช้มองในมุมกว้าง ระยะใกล้ เช่น ในลิฟต์

· 8 mm เป็นเลนส์มุมแคบหน่อย เหมาะกับการใช้มองในที่ทางแคบๆ เช่น ทางเดินในอพาร์ทเมนท์ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องมองภาพในมุมกว้าง เพราะจะเห็นแต่กำแพง

· 25 mm เป็นเลนส์ที่ใช้สำหรับมองในระยะไกล หรือ ต้องการโฟกัสสิ่งของสำคัญเป็นจุดๆ

ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมกว้างมาก เช่น 2mm ในการดูภาพใน Lift

clip_image002 clip_image004

ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมกว้างมาตรฐาน เช่น 3.6mm หรือ 4mm ในการดูทั่วทั้งพื้นที่

clip_image006 clip_image008

clip_image010 clip_image012

ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมแคบ เช่น 8mm หรือ 12mm ในการดูบริเวณทางเดิน

clip_image014 clip_image016

ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมแคบมากๆ เช่น 25mm, 50mm ในการดูภาพเฉพาะที่สนใจ เป็นจุดๆ

clip_image018 clip_image020

1. COLOR

แบ่งเป็น 2 ชนิด คือกล้องสี และ กล้องขาว-ดำ

ประเทศไทยและประเทศในแถบยุโรป ใช้ระบบภาพ ดังนี้

- ภาพสี ใช้ระบบภาพ PAL

- ภาพขาว-ดำ ใช้ระบบภาพ CCIR

ประเทศอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ใช้ระบบภาพดังนี้

- ภาพสี ใช้ระบบภาพ NTSC

- ภาพขาว-ดำ ใช้ระบบภาพ EIA

2. CHIP TYPE

มี 2 ชนิด คือ CCD และ CMOS

3. RESOLUTION

มีหน่วยเป็น pixels ( pixel คือจำนวนจุดที่ประกอบกันขึ้นเป็นภาพ ยิ่งมี pixel มาก ภาพก็จะยิ่ง

ละเอียดและมีความคมชัดสูง )

4. TV LINES

เป็นตัวที่แสดงความละเอียดของภาพบนจอโทรทัศน์ ซึ่งกำหนดเป็นเส้นตามแนวนอน โดยปกติโทรทัศน์ จะมี TV LINES 380 เส้น

การใช้กล้องที่มี TV LINES สูงๆ ควรจะใช้คู่กับโทรทัศน์วงจรปิดโดยเฉพาะ (CCTV Monitor) เพราะ โทรทัศน์ทั่วไปแสดงรายละเอียดจำนวนเส้น TV LINES ที่ 380 TV LINES เท่านั้น

5. LUX at F-STOP

LUX คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณแสง ( เช่น 0.005 / 1 / 2 / 4 / 5 Lux ) โดยใน spec ของกล้อง จะระบุปริมาณแสงที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อที่จะได้ภาพที่ชัดเจน

F-STOP เป็นคุณสมบัติของตัวเลนส์เอง ซึ่งเทียบได้กับความหนาของเลนส์ ( มี F 1.2 / F1.4 / F2.0 )

ซึ่งถ้า F-stop น้อย เปรียบเทียบได้กับเลนส์บาง แสงจึงผ่านได้ดี ส่วน F-stop มาก เทียบได้กับเลนส์หนา แสงจะผ่านได้ไม่ดี ( เลนส์ F1.2 เป็นเลนส์กระจก ใช้งานได้ดี ผลิตในญี่ปุ่น ส่วนเลนส์ F2.0 เป็นเลนส์พลาสติก ผลิตในเกาหลี ) ส่วนใหญ่ เลนส์ Manual Iris และเลนส์ Auto Iris จะเป็นเลนส์ดี ประเภท F1.2 และ F1.4

ตัวอย่าง 0.5 Lux at F1.2 หมายความว่า กล้องต้องใช้ปริมาณแสง 0.5 Lux ( หรือมากกว่า ) เมื่อใช้กับ

เลนส์ F1.2 ในการที่จะได้ภาพชัดเจน ซึ่งแน่นอนว่า หากใช้กับเลนส์ F2.0 ก็จะต้องการปริมาณแสงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะต้องการแสง 2 Lux หรือ 4 Lux เลยก็ได้

6. AUTO WHITE BALANCE (AWB)

เป็นการปรับสีอัตโนมัติ ซึ่งเป็น spec ของกล้องสีเท่านั้น โดยปกติ กล้องสีเกือบทุกรุ่นจะมี AUTO WHITE BALANCE อยู่แล้ว

7. SIZE & WEIGHT

สำหรับกล้องจิ๋ว ที่มีลักษณะพิเศษ คือขนาดเล็กหรือน้ำหนักเบา จะมีการระบุขนาดของกล้องไว้ด้วย เช่น 17mm*17mm , Light Weight

8. Auto Electronic Shutter (A.E.S.)

กล้องสีทุกรุ่น มีฟังก์ชันนี้อยู่แล้ว เป็นฟังก์ชันในการปรับแสงอัตโนมัติของแผงวงจรกล้อง โดยสามารถทดสอบได้ด้วยการส่องกล้องไปในที่ที่มืดหน่อย ภาพจะถูกปรับให้กลับมาสว่าง แต่ถ้าส่องกล้องไปยังที่สว่างๆ ภาพจะถูกปรับให้มืดลง ปกติถือว่าฟังก์ชันนี้ จะเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของกล้องทุกตัว ซึ่งฟังก์ชันนี้เหมาะสมอยู่แล้ว

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 2

ชนิดของ CHIP

clip_image002

CHIP เปรียบเสมือนฉากรับภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

1. CCD - เป็น chip ที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ได้แม้มีปริมาณแสงน้อย

- มี resolution ประมาณ 512H*582V ( 290K / sqr.in. )

- ผลิตที่ญี่ปุ่น

2. CMOS - เป็น chip ที่ต้องใช้ปริมาณแสงมากกว่า CCD ในการที่จะให้ความคมชัดเท่า ๆ กัน

ดังนั้น chip แบบ CMOS จึงเหมาะที่จะใช้กับกล้องขาว-ดำ ที่ใช้ปริมาณแสงน้อยใน

การสร้างภาพ, CMOS มีความคมชัดสูง

- มี resolution ประมาณ 628H*582V ( 330K / sqr.in. , Hi-Resolution )

- - ผลิตที่อเมริกา, จีน

· CMOS มี resolution มากกว่า CCD แต่ เป็นเพียงแค่ Specification เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ภาพที่ได้จาก ชิป CMOS จะไม่ค่อยชัดเท่ากับชิป CCD และถ้าในที่ที่มีแสงน้อย ภาพจะไม่ค่อยชัดเจน

CCD BRAND

CHIP แบบ CMOS จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แต่ CHIP แบบ CCD จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต

1. SONY คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีอบอุ่น เช่นสีแดง เหลือง

ชิป SONY มีหลายรุ่น เช่น Super HAD, Exview

2. PANASONIC คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีเย็น เช่น ฟ้า น้ำเงิน ส่วนสีอย่างสีแดงจะดูหม่นจน

กลายเป็นสีม่วง

3. SHARP คุณภาพปานกลาง ภาพที่ได้จะคมสู้ SONY, PANA ไม่ได้

ถ้าแสงปกติ ภาพจะสวยดี, ที่แสงน้อย ภาพอาจขึ้น SNOW เร็ว

4. SAMSUNG เรานำเข้ามาเฉพาะชิปขาว-ดำ ให้ภาพสว่างสดใส

 

เทคนิคการดูสี CHIP

กล้องขาว-ดำ สีของ CHIP จะอ่อน , กล้องสี สีของ CHIP จะเข้ม

 

CHIP SIZE

ขนาดของ CHIP ยิ่งใหญ่จะยิ่งดี เนื่องจากมีพื้นที่ในการรับแสงมาก จะได้ภาพที่คมชัด ซึ่งก็จะมีราคาแพง

ขนาดของ CHIP แบ่งเป็น

1. 1/2” ไม่ขาย เพราะมีราคาแพงมาก, แม้ว่าขนาดของ chip จะใหญ่ ดี แต่ราคาแพง

2. 1/3” กล้องสีบางรุ่นใช้ชิป 1/3” มีราคาแพงกว่าชิป 1/4” แต่ได้มุมภาพที่กว้างกว่าชิป 1/4”

3. 1/4” กล้องสีทั่วไปที่เราขาย ส่วนใหญ่เป็นชิป 1/4” clip_image006

รูป 6 ขนาดของ CHIP

· ชิปที่มีขนาดใหญ่ จะให้ภาพละเอียดและ มุมภาพกว้างขึ้น กว่าชิปที่มีขนาดเล็ก

· เลนส์จะต้องสร้างภาพที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับชิป หากชิปมีขนาดใหญ่ เลนส์ก็ยิ่งแพง

· เลนส์ที่ทำสำหรับใช้กับชิปขนาด 1/2” จะสามารถใช้กับชิปขนาด 1/2”, 1/3” และ 1/4” ได้

· เลนส์ของเราทำสำหรับใช้กับชิปขนาด 1/3” ซึ่งสามารถใช้กับชิปขนาด 1/3” และ 1/4” ได้

· กล้องขาว-ดำทุกรุ่นที่เราขาย มีขนาดชิป 1/3” เพราะมีราคาถูกอยู่แล้ว

ระยะโฟกัส

เลนส์แบ่งตามการปรับระยะโฟกัส มี 3 ชนิดหลัก ๆ คือ

q Mono focal : ระยะโฟกัสจะถูกกำหนดไว้ตายตัว จะเปลี่ยนไม่ได้ เช่น 4 มม.

q Zoom : สามารถปรับระยะโฟกัสได้ภายในช่วงที่กำหนดไว้ เช่น 2.8-12 มม. และเมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัสแล้ว จุดรวมแสงของเลนส์ก็จะยังคงอยู่

q Vari-focal Zoom : เมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส เลนส์จะต้องถูกปรับจุดรวมแสงใหม่ ซึ่งชนิดที่ใช้กันทั่วไปคือขนาด 3.5-8 มม.

 

ระยะโฟกัสของเลนส์กับมุมการมองเห็น

ANGLE OF VIEW

SIZE OF LENS

WIDE ANGLE

C-MOUNT LENS

BOARD LENS

(degree)

2 mm

2 mm

> 90

4 mm

3.6 mm

78

6 mm

6 mm

50

8 mm

8 mm

30

12 mm

12 mm

20

16 mm

-

12

· ระยะโฟกัสกับขนาดของเซนเซอร์จะให้มุมในการมองเห็นที่ต่างกัน

· เลนส์ระยะโฟกัสน้อยจะให้มุมที่กว้างกว่าระยะโฟกัสมาก และมองเห็นชัด สำหรับระยะใกล้ๆ

· ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ เช่น 2 mm จะเริ่มเห็นภาพเป็น เส้นโค้งๆ

· เลนส์มาตรฐานที่ให้ไปกับตัวกล้อง เป็นเลนส์ขนาด 4mm ซึ่งได้มุมที่กว้างพอสมควร

· เลนส์ขนาดเดียวกัน หากใช้กับ CHIP ขนาด 1/3” ก็จะมองเห็นมุมที่กว้างกว่าการใช้ CHIP ขนาด 1/4 ” นิดหน่อย

 

ติดตามต่อในตอนที่ 3 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบระบบกล้องวงจรปิดระยะไกล

ระบบกล้องวงจรปิดระยะไกล

ใน ปัจจุบันนี้ระบบกล้องวงจรปิดนั้นเป็นที่ ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะงานโปรเจคใหญ่ๆ อย่างที่ผมจะพูดถึงนะครับ ซึ่งถ้าถามว่าถ้าเป็นระดับอำเภอ/เขต เทศบาลตำบล จังหวัด จะติดตั้งกล้องวงจรปิดจะทำอย่างไร ???? เพราะที่เราทราบกันดีว่า ขีดจำกัดของสายสัญญาณภาพ (Rg6) นั้นได้มากที่สุดแค่ 350 เมตร ถ้ามากกว่านั้น ภาพที่ได้อาจผิดเพีัยนไป เช่น ได้ภาพขาวดำบาง มีสัญญาณรบกวนต่างๆ บ้าง หรือจะเปลี่ยนมาใช้สายสัญญาณที่รองรับได้ระยะไกลๆ มากขึ้น เช่น Rg11 (มากที่สุดได้แค่ 1.3Km) ซึ่งภาพก็อาจจะได้บ้างไม่ได้บ้างนะครับ บางท่านบอกว่าใส่ อุปกรณ์ขยายสัญญาณ Booter(จะได้สัญญาณรบกวนตามมาด้วย) อย่างที่กล่าวข้างต้น แต่ที่เราต้องการคือเครื่องบันทึก(DVR)อยู่ห่างจากกล้อง(Camera) แต่ละตัวประมาณไม่ต่ำกว่า 20 Km ขึ้นไป สรุปคือจะใช้สาย RG6,11 เดินสายมาที่เครื่องบันทึก (DVR) โดยตรงไม่ได้แล้ว ซึ่งจะต้องใช้ระบบเครื่อข่ายระยะไกลเข้ามาช่วย โดยระบบเครือข่ายระยะไกลในที่นี้จะหมายถึง 2 รูปแบบด้วยกันคือ ระบบเครือข่ายระยะไกลแบบไร้สาย (wireless network) หรือแบบเดินสาย (fiber optic network) ดังนั้น ทุกท่านคงทราบแล้วนะครับ ว่าการออกแบบระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ระยะไกลนั้นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้าน 
1. ระบบกล้องวงจรปิดพื้นฐาน (Basic CCTV)
- อุปกรณ์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง (DVR,Camera,Cable,UPS,Monitor,Software)
2. ความรู้ด้านสายสัญญาณ (Cable)
- สายสัญญาณภาพมีอะไรบ้าง (RG6,11,VGA Cable,อื่นๆ)
3. ความรู้ด้านระบบเครือข่าย (Network)
- ระบบเครื่อข่ายมีอะไรบ้าง (ไร้สายWireless,เดินสายWiring Fiber Optic)
- เดินสาย สายสัญญาณระบบเครือข่าย Fiber Optic(single mode,multi mode)
4. ความรู้ด้านเครื่องบันทึกภาพและโปรแกรมควบคุมการใช้งาน 
- DVR & CMS Or EMS Software ควบคุมการทำงาน 



ซึ่งที่ผมเขียนมาข้างต้นนั้นยังมีรายละ เอียดปลีกย่่อยในการออกแบบอีกมากมายซึ่งผมจะพยายามรวบรวมและเขียนให้เข้าใจ ง่ายที่สุด จะพยายามให้ทุกท่านที่ไม่มีพื้นฐานด้านนี้ สามารถออกแบบได้ง่ายๆ โดยใช้เทคนิค ต่างๆ ที่ผมจะแนะนำต่อไปนะครับ ยกตัวอย่างรายละเอียดปลีกย่อย


1. ถ้ามีกล้อง 10 ตัว ต้องการเก็บข้อมูลภาพไว้ 20 วันต้องใช้ ฮาร์ดดิส เก็บข้อมูลขนาดเท่าไหร่ ???
2. ต้องการประหยัดพื้นที่ ฮาร์ดดิส ในการเก็บข้อมูลต้องตั้งค่า DVR อย่างไรบ้าง ????
3. เลือกระยะเลนซ์ เท่าไหร่ ถึงมองได้ครอบคลุม ที่ระยะโฟกัส 10 เมตร ??? เลนซ์มีมุมการรับภาพที่กี่องศา ????
4. เลือกกล้องอย่างไรให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ???
5. อื่นๆ อีกมากมาย


นิเป็นตัวอย่างคำถามในเบื้องต้นเท่านั้นนะ ครับ ความจริงยังมีเยอะกว่านี้อีกเอาไว้วันหลังผมจะลงข้อมูลนะครับ ในบทความถัดไปผมจะยกตัวอย่างจริงให้เห็นในการออกแบบระบบกล้องวงจรปิดของ เทศบาลตำบลนะครับ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera

สิ่่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบระบบกล้องวงจรปิด ชนิด ไอพี คาเมร่า คือ

1. ชนิดของกล้องที่ใช้
- กล้องอินฟาเรด ในตัว หรือ อินฟาเรด ภายนอก (สำหรับในพื้นที่ที่มืดสนิท) ซึ่งการที่จะใช้อินฟาเรดภายนอกนั้นต้องคำนึงถึงคุณภาพแสงที่ตัวกล้องสามารถ รับได้ด้วยว่าค่าความไวแสงเท่าไหร่ ( มีหน่วยเป็น Lux ) เพราะถ้าความไวแสงที่กล้องรับได้จำกัดได้แค่ไหน อินฟาเรดที่ติดตั้งไว้ภายนอกก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
- กล้องที่ใช้ออกแบบให้รองรับการจ่ายไฟ ผ่านสาย Lan หรือไม่ (ประหยัดต้นทุนในการเดินสายไฟ เลี้ยงกล้องเนื่องจากรองรับการจ่ายไฟผ่านสาย Lan (PoE standard)
- กล่องครอบกล้องสำหรับภายนอก (Housing) ต้องมีพัดลมระบายอากาศด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งาน



2. เลนซ์ที่ใช้ ต้องการระยะโฟกัส ใกล้หรือไกล
- แบบปรับอัตโนมัติ (Auto iris) หรือแบบปรับเองด้วยมือ (manual iris) ถ้าต้องการมุมมองกว้างๆ ก็ใช้เลนซ์ขนาด 2 - 4 mm (มุมมองกว้าง) ระยะใกล้ แต่ถ้าระยะไกลต้องใช้เล่นขนาด 4 mm ขึ้นไปถึงประมาณ 60 mm (มุมมองแคบเฉพาะเจาะจงในจุดที่เราสนใจ ขึ้นอยู่กับระยะในการมอง และจุดติดตั้งกล้องกับระยะโฟกัส ซึ่งต้องสำรวจพื้นที่จริง



3. ระบบสายสัญญาณ ใช้สายหรือไร้สาย ดี
- ต้องสำรวจสถานที่หน้างานติดตั้งจริง เนื่องจากบางโปรเจคนั้น การเดินสายลำบากมาก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เมื่อเทียบกับใช้ไร้สายเข้าช่วย แต่เรื่องเสถียรภาพ ต้องยอมรับว่าไร้สายยังแพ้เดินสาย ซึ่งต้องยอมรับในจุดนี้ ( ถ้าโปรเจคใหนซีเรียสต้องการเสถียรภาพเกือบ100% แนะนำให้เดินสายสัญญาณดีกว่า แต่ถ้าโปรเจคใหนที่ ไม่ค่อยซีเรียสจุดนี้ ไร้สายเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากประหยัดต้นทุนค่าแรงค่าติดตั้งได้เยอะมาก พอสมควร แต่คุณภาพก็ลดลงมาประมาณ 5% ถ้าเทียบกับการเดินสาย

4. สายสัญญาณที่ใช้ ภายในหรือ ภายนอก เดินลอยมีสลิง สำหรับภายนอก หรือ สายเฉพาะพื้นที่พิเศษ
- ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นสาย UTP Cat5e เป็นมาตรฐาน ถ้า แบนวิท สูงหน่อยก็ใช้ UTP Cat6
- กรณีเดินสายในลิฟท์ ทีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต้องใช้สาย UTP จำเพาะในการใช้งาน

5. สายไฟฟ้า เมนกล้อง ในการออกแบบที่ดีนั้น
- กล้องทุกตัวต้องจ่ายไฟ มาจากเมนชุดเดียวกัน เนื่องจากสะดวกในการบำรุงรักษาและ สะดวกสำหรับ
การติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้า กรณีไฟฟ้าดับ กล้องทุกตัวยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ตามระยะเวลาการจ่ายไฟของเครื่องสำรองไฟฟ้าที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งปกติจะอยู่ที่ ประมาณ 15 - 30 นาทีแล้วแต่โหลดไฟฟ้าที่ใช้งาน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสถานที่ที่คุณภาพไฟฟ้าไม่ดีและไม่มีระบบสำรองไฟของ อาคารสถานที่เพราะถ้าเกิดไฟตก ไฟ กระชาก บ่อย จะทำให้กล้องมีปัญหาได้ทำให้อายุการใช้งานต่ำกว่าปกติ
- ในส่วนของระบบไฟฟ้าของกล้องไอพี นั้น เนื่องจากเป็นระดับแรงดันดิจิตอล ประมาณ 5 - 12 V นั้นไม่ควรที่จะวาง หม้อแปลงไฟ หรือ อแดปเตอร์ของกล้องไว้ที่เมนไฟ เนื่องจากจะทำให้แรงดันไม่พอสำหรับไฟเลี้ยงกล้อง ควรเดินไลน์ 220 V มาที่ตัวกล้องแล้วค่อยใสหม้อแปลงใกล้ๆกล้อง

6.ถ้าเลือกใช้ออกแบบระบบโดยใช้การส่งสัญญาณไร้สาย
- สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ระยะการส่งสัญญาณและสัญญาณรบกวนจากภายนอก และในส่วนของการออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไร้สายด้วย เพื่อสะดวกสำหรับการแก้ไขปรับปรุงและซ่อมบำรุงรักษาในระยะยาว ซึ่งไร้สายสามารถส่งสัญญาณได้ไกลเป็นกิโลเมตร ถ้าเทียบราคากับเดินสายไฟเบอร์ออบติกแล้วถือว่าคุ้มกว่ามากในการลงทุน แต่ต้องยอมรับด้านความเสถียรลดลงจากเดินสายประมาณ 5 - 10 %

7. เครื่องบันทึกภาพและแสดงภาพ (Server & monitor)
- สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในส่วนของการออกแบบเครื่องบันทึกภาพนั้น ต้องคำนวณเรื่อง แบนวิท และ พื้นที่ความจุ ฮาร์ดดิสของ Server ว่าต้องการให้บันทึกภาพเก็บไว้อย่างน้อยกี่วัน ปกติ ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ค่าควาละเอียดในการส่งข้อมูลภาพเสียง ขนาดเท่าไหร่ บันทึกเฉพาะช่วงที่มีการเคลื่อนไหวอย่างเดียว หรือตั้งบันทึกเป็นเวลา ตามตัวอย่างการคำนวณแบทวิทและฮาร์ดดิส เพื่อให้การส่งข้อมูลและการทำงานของระบบไม่มีปัญหาตามมา

ในการออกแบบเบื้องต้นในบทความนี้ผมขอจบไว้ก่อนเพียงเท่านี้ ทั้งนี้ถ้าท่านมีความสนใจ หรือ สงสัยประการใด
โปรดส่งคำถามเพิ่มเติมได้ที่ตามอีเมล์ที่ให้ไว้ ขอบคุณครับ

บทความจาก: CCTVNETWORKDESIGN: ออกแบบระบบกล้องวงจรปิดเครือข่ายระยะไกล,กล้องวงจรปิด,ออก แบบCCTV,cctvnetwork,CCTV: สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera
http://cctvnetworkdesign.blogspot.com
Under Creative Commons License: Attribution

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 1

หลักการทำงานของกล้อง
เมื่อ ต่อ adapter เรียบร้อยแล้ว กล้องก็จะทำงาน การทำงานของกล้องจะเริ่มตั้งแต่การรับแสงผ่านเข้ามาในตัวกล้องโดยผ่านทาง เลนส์นูนที่มีหน้าที่รวมแสง หลังจากนั้นแสงก็จะไปตกลงบนชิป ที่ทำหน้าที่เสมือนฉากรับภาพ , ชิป จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า และนำไปใช้ได้ต่อไป ( เช่น ส่งสัญญาณไปออกโทรทัศน์ )


clip_image002
รูป 5 หลักการทำงานของกล้อง
ขนาดของเลนส์ (ระยะโฟกัส)
เลนส์ขนาด 4 mm. หมายถึง ระยะโฟกัส 4 mm.
ซึ่งก็คือ ระยะห่างระหว่างท้ายเลนส์ถึงชิปที่เป็นเสมือนฉากรับภาพ
clip_image003
ชนิดของเลนส์
· แบ่งตามรูปร่างของเลนส์
1. Board Lens : เป็นเลนส์ตัวเล็ก ที่มีหน้ากว้าง ตัวเลนส์ลึก โดยทั่วไป มีขนาดตั้งแต่ 2mm.จนถึง 50 mm.
clip_image005clip_image007clip_image009
clip_image011clip_image012
2. Pinhole Lens : เป็นเลนส์รูเข็ม มีขนาดรูเลนส์เล็ก ใช้เมื่อต้องการซ่อนกล้อง โดยทั่วไปมีขนาด 3.6 mm
ตัวอย่างกล้องที่ใช้เลนส์รูเข็ม
clip_image014 clip_image016
3. C(s)-Mount lens : เป็น Standard type ที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งโดยทั่วไปมีขนาดตั้งแต่ 2 mm.จนถึง 25 mm. โดย C-Mount เป็นเลนส์ที่มีฐานเลนส์สั้นต้องต่อ C-ring เข้าไปก่อนจึงประกอบกับกล้องได้
ตัวอย่างเลนส์ C-Mount กับ แหวนรอง C-Ring
clip_image018
clip_image020clip_image022clip_image024
สำหรับ CS-Mount มีฐานเลนส์สูงอยู่แล้ว จึงประกอบกับกล้องได้เลย
รูปแสดงตัวอย่างเลนส์ CS-Mount
clip_image026clip_image028


clip_image030
q CS-Mount : ระยะห่างระหว่างเซนเซอร์และเลนส์ควรจะเป็น 12.5 มม.
q C-Mount : ระยะห่างระหว่างเซนเซอร์และเลนส์ควรจะเป็น 17.5 มม.
q แหวนแปลง (ระยะห่าง 5 มม.) จะถูกใช้เพื่อ เปลี่ยนเลนส์ C-Mount เป็น CS-Mount
· แบ่งตาม IRIS ( เลนส์ชนิดปรับแสง )
โดย ปกติแล้ว ตัวกล้องจะสามารถปรับแสงได้เอง เมื่อมีปริมาณแสงมากหรือน้อยโดยใช้ Electronic Shutter แต่จะอาจปรับแสงได้ไม่ดีนัก ในสถานที่ที่มีแสงจ้ามากๆ หรือมีแสงเปลี่ยนแปลงมาก
เลนส์ชนิดพิเศษที่ช่วยปรับแสง ที่ผ่านมายังเลนส์ คือ Manual IRIS LENS และ Auto Iris Lens
q Fixed Iris : เลนส์ปกติทั่วไป เป็นเลนส์ที่ปรับแสงไม่ได้
clip_image011[1]clip_image031clip_image033
q Manual Iris : หมุนเพื่อปรับรูม่านแสงด้วยมือ
clip_image035
q Auto Iris Lens
- DC Drive Auto Iris (Direct Drive) : นำเอาท์พุทที่ได้จากกล้องมาปรับแสง


clip_image038
- Video Auto Iris : ใช้สัญญาณวิดีโออนาล็อกมาปรับแสง
clip_image040clip_image041clip_image041[1]
- ในการใช้งาน กล้องและเลนส์ จะต้องเป็น drive ชนิดเดียวกัน จึงจะทำงานได้ ซึ่งกล้องส่วนใหญ่สามารถเลือกใช้กับเลนส์ได้ทั้ง 2 แบบ คือ d-drive หรือ v-drive
- Electronic Shutter เป็นการปรับแสงด้วยวงจรภายในกล้อง ส่วน AUTO IRIS เป็นการส่งสัญญาณปรับ shutter ของเลนส์โดยตรง
- ควรใช้เลนส์ Auto Iris สำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร ซึ่ง Iris จะปรับปริมาณแสงที่เข้ามายังกล้องโดยอัตโนมัติ จึงทำให้ได้ภาพทีสวยงาม และเลนส์ Iris จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเซนเซอร์จากการที่ได้รับแสง อาทิตย์มากจนเกินไปด้วย
clip_image042
ชนิดของ CHIP

clip_image044

CHIP เปรียบเสมือนฉากรับภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. CCD - เป็น chip ที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ได้แม้มีปริมาณแสงน้อย
- มี resolution ประมาณ 512H*582V ( 290K / sqr.in. )
- ผลิตที่ญี่ปุ่น
2. CMOS - เป็น chip ที่ต้องใช้ปริมาณแสงมากกว่า CCD ในการที่จะให้ความคมชัดเท่า ๆ กัน
ดังนั้น chip แบบ CMOS จึงเหมาะที่จะใช้กับกล้องขาว-ดำ ที่ใช้ปริมาณแสงน้อยใน
การสร้างภาพ, CMOS มีความคมชัดสูง
- มี resolution ประมาณ 628H*582V ( 330K / sqr.in. , Hi-Resolution )
- - ผลิตที่อเมริกา, จีน
· CMOS มี resolution มากกว่า CCD แต่ เป็นเพียงแค่ Specification เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ภาพที่ได้จาก ชิป CMOS จะไม่ค่อยชัดเท่ากับชิป CCD และถ้าในที่ที่มีแสงน้อย ภาพจะไม่ค่อยชัดเจน


(ติดตามต่อในบทความถัดไปครับ)

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | coupon codes